เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [10. โกสัมพิกขันธกะ] 278. สังฆสามัคคีกถา
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย นั่นเป็นอาบัติ นั่นไม่เป็นอาบัติหามิได้
ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติแล้ว ภิกษุรูปนั้นไม่ต้องอาบัติหามิได้ ภิกษุรูปนั้นถูกลง
อุกเขปนียกรรมแล้ว ภิกษุรูปนั้นไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรมหามิได้ เธอถูกลง
อุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ชอบธรรม ไม่เสียหาย ควรแก่ฐานะ เพราะเธอ
ต้องอาบัติ ถูกลงอุกเขปนียกรรมแล้วและเห็นอาบัติ ภิกษุทั้งหลาย ดังนั้น พวกเธอ
จงรับภิกษุรูปนั้นเข้าหมู่เถิด”

278. สังฆสามัคคีกถา
ว่าด้วยสังฆสามัคคี
[475] ครั้งนั้นพวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเหล่านั้น
รับเธอผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเข้าหมู่แล้วเข้าไปหาพวกภิกษุผู้ลงอุกเขปนียกรรมถึงที่
อยู่กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความขัดแย้ง ความวิวาท
ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความแบ่งแยกแห่งสงฆ์ การทำสงฆ์ให้
เป็นต่าง ๆ กันได้มีแล้วเพราะเรื่องใด ภิกษุรูปนั้นผู้ต้องอาบัติถูกลงอุกเขปนียกรรม
แล้ว เห็นอาบัติและสงฆ์รับเข้าหมู่แล้ว เอาละ พวกเราจะทำสังฆสามัคคีเพื่อระงับ
เรื่องนั้น”
ลำดับนั้น พวกภิกษุผู้ลงอุกเขปนียกรรมเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ
ที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลดังนี้ว่า
“พระพุทธเจ้าข้า พวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเหล่านั้น
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความขัดแย้ง ความ
วิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความแบ่งแยกแห่งสงฆ์ การทำ
สงฆ์ให้เป็นต่าง ๆ กันได้มีแล้วเพราะเรื่องใด ภิกษุรูปนั้นผู้ต้องอาบัติถูกลงอุกเขปนีย
กรรมแล้ว เห็นอาบัติและสงฆ์รับเข้าหมู่แล้ว เอาละ พวกเราจะทำสังฆสามัคคีเพื่อ
ระงับเรื่องนั้น’ พวกข้าพระพุทธเจ้าจะพึงปฏิบัติอย่างไร”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :369 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [10. โกสัมพิกขันธกะ] 278. สังฆสามัคคีกถา
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุรูปนั้นผู้ต้องอาบัติ ถูก
ลงอุกเขปนียกรรมแล้ว เห็นอาบัติและสงฆ์รับเข้าหมู่แล้ว ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงทำสังฆ
สามัคคีเพื่อระงับเรื่องนั้น”

วิธีทำสังฆสามัคคีและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงทำสังฆสามัคคีอย่างนี้ คือ พวกภิกษุทั้งที่เป็นไข้และ
ไม่เป็นไข้พึงประชุมกันทุกรูป รูปไหนจะให้ฉันทะไม่ได้ จากนั้นภิกษุผู้ฉลาดสามารถ
พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความ
ขัดแย้ง ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความแบ่งแยก
แห่งสงฆ์ การทำสงฆ์ให้เป็นต่าง ๆ กันได้มีแล้วเพราะเรื่องใด ภิกษุรูปนั้นผู้ต้องอาบัติ
ถูกลงอุกเขปนียกรรม เห็นอาบัติและสงฆ์เรียกเข้าหมู่แล้ว ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว สงฆ์
พึงทำสังฆสามัคคีเพื่อระงับเรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความขัดแย้ง
ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความแบ่งแยกแห่งสงฆ์
การทำสงฆ์ให้เป็นต่าง ๆ กันได้มีแล้วเพราะเรื่องใด ภิกษุรูปนั้นผู้ต้องอาบัติ ถูกลง
อุกเขปนียกรรม เห็นอาบัติและสงฆ์เรียกเข้าหมู่แล้ว สงฆ์ทำสังฆสามัคคีเพื่อระงับเรื่องนั้น
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการทำสังฆสามัคคีเพื่อระงับเรื่องนั้น ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
สงฆ์ทำสังฆสามัคคีเพื่อระงับเรื่องนั้นแล้ว ความแตกแห่งสงฆ์ถูกกำจัดแล้ว
ความร้าวรานแห่งสงฆ์ถูกกำจัดแล้ว ความแบ่งแยกแห่งสงฆ์ถูกกำจัดแล้ว การทำ
สงฆ์ให้เป็นต่าง ๆ กันถูกกำจัดแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือ
ความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
สงฆ์พึงทำอุโบสถ พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในขณะนั้นทีเดียว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :370 }